รีวิว หนัง The Chair Netflix
รีวิว หนัง The Chair Netflix ซีรีส์แนวตลกร้ายที่สามารถจิกกัดประเด็นในสังคมอเมริกาได้อย่างเจ็บแสบ
อเมริกานั้นเป็นชาติที่เต็มไปด้วยความหลากหลายในสังคม เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยอิสรภาพและหลายคนก็ใฝ่ฝันที่จะได้ไปใช้ชีวิตในนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วความหลากหลายในสังคมนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังตามมาด้วยประเด็นละเอียดอ่อนมากมายอย่างเช่นประเด็นการเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดสีผิว สังคมปิตาธิปไตย และอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ความเป็นอยู่ในอเมริกานั้นยังไม่ใช่ยูโทเปียเสียทีเดียว มันยังคงเป็นประเทศที่ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสียให้เราต้องรับให้ได้หากต้องการจะไปอยู่อาศัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานี้จากเดิมทีที่เหลือส่วนใหญ่มักจะเป็นคนผิวสี ก็ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นคนเอเชียแทนเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 นั้นต้นตอของเชื้อไวรัสมาจากประเทศจีน แน่นอนว่าคนฝั่งอเมริกานั้นแยกไม่ออกว่า Asia ไหนเป็นเอเชียไหนเหมือนกับที่เราแยกไม่ออกเช่นเดียวกันว่าใครเป็นใครในทวีปอเมริกา
ประเด็นดังกล่าวสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมในซีรีส์แนวตลกร้ายเรื่อง The Chair ที่เล่าเรื่องราวของอาจารย์สาวชาวเกาหลีใต้คนหนึ่งที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกา แม้ว่ามันจะเป็นแนวตลกร้ายที่ฟังดูเหมือนรับชมยาก แต่ความจริงแล้วมันเป็นตลกร้ายที่ค่อนข้างย่อยง่ายเลยทีเดียว สำหรับใครที่อยากจะลองไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริการองรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ดูอาจจะทำให้คุณเข้าใจวัฒนธรรมในประเทศนั้นมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
เรื่องราวในซีรีส์เรื่อง The Chair
The Chair จะเล่าถึงเรื่องราวผ่านตัวละครของหญิงวัยกลางคนที่มีชื่อว่าคิมจียุน เธอนั้นเป็นชาวเกาหลีใต้ที่มาอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะอยู่มาอย่างยาวนานแต่รูปลักษณ์ภายนอกของเธอนั้นก็ยังดูเป็นคนเอเชียแบบ 100% อยู่ดี และด้วยความที่เธอนั้นเป็นคนที่มีความสามารถทำให้เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึงหัวหน้าภาพคณะวรรณคดีภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยคนใหม่ เธอเป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกที่สามารถก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนี้ได้
และเหมือนกับที่ทุกคนคาดการณ์เอาไว้คือเธอต้องเผชิญกับวิกฤตมากมายไม่ว่าการที่เธอเป็นผู้หญิงหรือแม้แต่การที่เธอเป็นชาวเอเชียแต่ดันได้รับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีภาษาอังกฤษ ซึ่งดูแล้วชาวเอเชียไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องด้วยเลยแม้แต่น้อย
สิ่งแรกที่เธอจะต้องเผชิญก็คือการหาทางเพิ่มปริมาณนักศึกษาให้ลงทะเบียนในสาขาวิชาเพิ่มเติม ไม่เพียงเท่านั้นเธอยังต้องบริหารคณะที่มีแต่อาจารย์อาวุโสมากมายที่ทางมหาวิทยาลัยนั้นต้องการที่จะให้อาจารย์เหล่านี้ปลดเกษียณตัวเองไปเสียที เธอจึงต้องพยายามฝ่าฟันสถานการณ์สุดป่วนในมหาวิทยาลัยให้สำเร็จให้ได้โดยมีตำแหน่งงานเป็นเดิมพัน
แต่เรื่องราวกลับไม่ง่ายเช่นนั้นเพราะความสัมพันธ์ในชีวิตรักของเธอรวมไปถึงลูกสาวบุญธรรมที่เธอรับอุปการะนั้นกลับเกิดปัญหาแบบที่เธอไม่ทันได้ตั้งตัว ทุกปัญหาล้วนแล้วแต่ถ้าถมใส่เธอจนทำให้เกิดเรื่องราวขึ้นมามากมาย เธอจะทำอย่างไรต่อไปต้องไปติดตามรับชมกันต่อในซีรีส์
ความรู้สึกหลังรับชมซีรีส์เรื่อง The Chair
The Chair เป็นซีรีส์ที่ตัวแสดงหลักเป็นชาวเกาหลีก็จริงแต่ไม่ใช่นักแสดงที่อยู่ในเกาหลีใต้แต่อย่างใด เธอนั้นเป็นคนเกาหลีใต้ที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในแคนาดาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เธอนั้นสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว แม้หลายคนจะมองว่าการที่เธอมารับบทบาทนั้นอาจจะดูขัดหูขัดตาไปสักเล็กน้อยเพราะเธอไม่ใช่นักแสดงที่มีหน้าตาในแบบพิมพ์นิยมของฝั่งเอเชีย แต่บทบาทของเธอนั้นก็ไม่ได้ทำให้รูปลักษณ์ภายนอกของเธอเป็นอุปสรรคในการแสดงแต่อย่างไร แถมมันยังช่วยให้เธอดูเข้ากับบทบาทมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ส่วนประเด็นที่นำเอามาเล่านั้นก็เต็มไปด้วยความน่าสนใจมากมายและเล่าในหลายประเด็นอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสิ่งที่สังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการเหยียดสีผิว การเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดเพศ ประเด็นความละเอียดอ่อนเกี่ยวกับชาติพันธุ์ แถมยังเกี่ยวข้องไปถึงนาซีเยอรมันกันอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังรวมไปถึงแนวคิดของอาจารย์และนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยที่มีทั้งพวกขวาจัดและซ้ายจัด
สำหรับใครที่ชื่นชอบวรรณกรรมน่าจะชอบเรื่องราวภายในซีรีส์เรื่องนี้ได้ไม่ยากเพราะคณะที่จะเล่าถึงนั้นเป็นคณะวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่แม้ว่าจะดูแล้วไม่ได้เน้นไปเล่าถึงตรงนั้นมากมายแต่ก็มีผสมผสานเข้ามาไม่น้อยเลยทีเดียว เป็นการเล่าเรื่องราวที่สามารถใส่ประเด็นเข้ามาได้หลากหลายโดยที่ไม่ทำให้ผู้รับชมรู้สึกว่าถูกยัดเยียดแต่อย่างใด แถมมันยังเป็นประเด็นที่อยู่รอบตัวเราทุกคนไม่เพียงแต่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
จุดด้อยของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการที่มันเป็นภาพยนตร์แนวตลกร้ายทำให้บังมุกสำหรับคนไทยที่เข้าใจมุกอเมริกันยากอยู่แล้วก็จะเข้าใจยากมากยิ่งขึ้นไปอีก มีการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจก็จริงแต่บางประเด็นนั้นก็มีแนวคิดที่สุดจัดจนทำให้สามารถแบ่งฝ่ายได้อย่างชัดเจนว่าขาวและดำ แทบจะไม่มีใครเลยที่มาอยู่ตรงกลางเป็นสีเทา และตัวละครค่อนข้างที่จะมีดราม่ามากเกินพอดีไปสักหน่อย
ตัวอย่างหนัง The Chair
รีวิว หนัง The Chair บางส่วนจาก playinone
The Chair Netflix รีวิว หัวหน้าใหม่ใจเกินร้อย ซีรีส์ตลกซีเรียส ผสมดราม่า วิพากษ์สังคมอเมริกันและสังคมโลกโซเชียลมีเดีย หยิบเอาประเด็นดราม่าอ่อนไหวในสังคมมาจิกกัดอย่างเจ็บแสบผ่านเรื่องราวของ คิม จียุน อาจารย์หญิงชาวเกาหลีที่ได้เป็นหัวหน้าคณะวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
เรื่องมาแนวตลกร้าย มีทั้งหมด 6 ตอนจบ รับชมได้เลยใน Netflix มีพากย์ไทย แล้วก็อาจจะมีซีซันสองต่อ
ก่อนอื่นต้องชมนักแสดง ซานดร้า โอ นักแสดงหญิงชาวเกาหลีที่มาเติบโตอยู่ในแคนาดา ได้รับบทแสดงนำเป็น จียุน คิม ตัวเอกของเรื่อง ถือว่าทำได้ดีมาก ซึ่งบางคนที่ยังไม่ได้ดูอาจจะรู้สึกแปลกๆว่าหานักแสดงหญิงเกาหลีที่หน้าตาดีกว่านี้มารับบทตัวเอกไม่ได้หรือ แต่ต้องเข้าใจว่าบทของ จียุน คิม ไม่ได้ต้องการนักแสดงหญิงที่หน้าตาดีอะไรนัก แต่ต้องการคนที่ดูมีประสบการณ์ เป็นคนที่มีความพยายามอยากเปลี่ยนแปลงบางอย่าง และคิดหนักกับการลงมือทำในสิ่งต่างๆ จะหน้าตาอาจจะดูแก่เกินวัยไปบ้าง (ในเรื่องเปิดมาก็มีแซวประเด็นนี้อยู่ ที่อาจารย์ด้วยกันคิดว่าเธออายุ 50 ปีแล้ว ทั้งที่ความจริงเธอเพิ่งจะอายุ 46 ปีเอง) ดังนั้นบทนี้ถูกเขียนมาราวกับต้องการให้ ซานดร้า โอ มาเล่นเลยทีเดียว
ข้อดีของซีรีส์มีอยู่หลายจุดเกินคาด ส่วนมากเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่แฝงอยู่ภายในเรื่อง เพราะหลากหลายประเด็นที่ถูกหยิบมานำเสนอหรือถกกันในเรื่องนี้เป็นเรื่องร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์สังคม การเหยียดผิว เหยียดเพศ ความละเอียดอ่อนเรื่องชาติพันธุ์ การแอนตี้นาซี ที่สำคัญคือการใช้มุกตลกของอาจารย์ยุคเก่าภายในคลาสที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยยุคใหม่ การลุกขึ้นมาต่อต้านอาจารย์ของนักศึกษา แนวคิดขวาจัดซ้ายจัดในมหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าอะไรที่เป็นประเด็นในสังคมคนรุ่นใหม่ เรื่องนี้จัดมาเพียบ แม้ว่าหลายเรื่องที่เอามาเล่นจะไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจนก็ตามที
ส่วนอีกมุมหนึ่งที่คนชื่นชอบสายวรรณกรรมหรือวิจารณ์ภาพยนตร์ดูแล้วน่าจะอินหรือชอบได้ไม่ยาก ก็คือการที่ซีรีส์หยิบเอาเรื่องของวรรณกรรมคลาสสิกและร่วมสมัยในสังคมตะวันตกมาวิพากษ์บางส่วนที่ไปมากกว่าแค่เรื่องตัวบทแต่รวมถึงตัวผู้เขียนผลงานเหล่านั้น ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่อาจารย์รุ่นเก่าในเรื่องไม่ต้องการเน้นหรือเลี่ยงที่จะพูดถึง แต่มันเป็นสิ่งที่นักศึกษารุ่นใหม่สนใจและชอบถเถียง ซึ่งอาจารย์รุ่นใหม่ในเรื่องรู้ดีว่าถ้าไม่เอามาถกในคลาสหรือปรับปรุงเนื้อหาที่สอนให้มีความทันสมัยไปจนถึงดู “เฟี้ยว” ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้นักเรียนเข้ามากันเต็มคลาสหรือให้ความสนใจได้
ตรงนี้นับว่าสะท้อนความเป็นจริงของมหาวิทยาลัยยุคใหม่พอสมควร เพราะสถานการณ์ปัจจุบันนี้ หากคณะหรือสาขาวิชาใดที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักศึกษามากพอแล้วนักศึกษาลดลงเรื่อยๆ เหล่าอาจารย์อาวุโสที่สอนก็จะถูกขอให้ประเมินตนเองหรืออาจถึงขั้นบีบให้เกษียณออกไป ซึ่งสถานการณ์นี้ก็เกิดขึ้นจริงๆกับสาขาด้านวรรณคดีที่คนรุ่นใหม่สนใจน้อยลงเรื่อยๆ แต่คนรุ่นใหม่จะสนใจเป็นพิเศษหากเอาวิชาเหล่านั้นมาผูกโยงกับประเด็นที่พวกเขาสนใจเช่น เรื่องเพศ ปัญหาความรุนแรง ชีวิตรักหรือปัญหาความรุนแรงของผู้เขียนเหล่านั้น เป็นต้น
อีกจุดหนึ่งที่ซีรีส์ “แอบกัด” ได้อย่างเจ็บแสบคันๆ ก็คือทัศนคติของอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่ตามไม่ทันโลก เสมือนตัวแทนของคนยุคเก่า แต่ในขณะเดียวกันมันก็แอบจิกกัดความ “เยอะ” ของคนรุ่นใหม่ที่ดูเหมือนจะแอนตี้และละเอียดอ่อนไปซะทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นชาติพันธุ์ ความเท่าเทียม เรื่องทางเพศ ซึ่งตรงนี้ผู้สร้างซีรีส์ก็อาจจะแอบใส่มาเพื่อล้อและให้เราฉุกคิดเหมือนกันว่าบางครั้งพวกเราเยอะตามกระแสต่างๆที่เกิดขึ้นในโซเชียลมากไปหรือไม่ แต่ก็ต้องยอมรับจริงๆว่าบางประเด็นมันก็ไม่น่าแปลกที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นดราม่าในสายตาคนยุคใหม่เวลานี้ อีกข้อก็คือการนำเสนอบงประเด็นในแง่มุม ขาวและดำ มากเกินไปหน่อย ประมาณว่าหากไม่เห็นด้วยกับคนรุ่นใหม่ ก็คือความผิด หัวโบราณ ใช้ไม่ได้ ซึ่งมันก็ดูเกินไปนิด