รีวิว หนัง CODA
รีวิว หนัง CODA ภาพยนตร์แนวอินดี้ที่ทำได้ดีจนอาจลุ้นรางวัลออสการ์
การที่เราจะตัดสินใจรับชมภาพยนตร์ครั้งหนึ่งเรื่องสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจก็คงจะหนีไม่พ้นโปสเตอร์นั่นเอง เพราะมันช่วยให้เรารู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับอะไร มีบรรยากาศในการเล่าเรื่องประมาณไหน และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือใครเป็นนักแสดงนำ ดังนั้นการออกแบบโปสเตอร์ของภาพยนตร์นั้นจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อการทำการตลาดให้ภาพยนตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น
แต่ไม่ใช่สำหรับภาพยนตร์อินดี้ เพราะภาพยนตร์แนวอินดี้สามารถเปิดกว้างในการนำเสนอได้มากกว่านั้น มันจึงค่อนข้างน่าเสียดายเลยทีเดียวที่ภาพยนตร์คุณภาพแบบนี้ไม่ค่อยเข้าถึงคนรับชมภาพยนตร์ทั่วไป อย่างเช่นภาพยนตร์ที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้นั่นก็คือ CODA เป็นภาพยนตร์แนวอินดี้ที่ผสมผสานการเล่าเรื่องราวระหว่างเทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์และงานศิลปะ
ด้วยความที่มันเป็นภาพยนตร์แนวอินดี้ทำให้โปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นรูปของนักแสดงรายชื่อ 4 คนที่นั่งอยู่บนท้ายกระบะไม่ได้สื่อถึงอะไรออกมาเลยแม้แต่น้อย และมันก็ทำให้หลายคนไม่สนใจภาพยนตร์เรื่องนี้และต้องพลาดการรับชมภาพยนตร์ที่น่าสนใจไปอย่างน่าเสียดาย เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดีเรียกได้ว่าเป็นภาพยนตร์ล่ารางวัลก็คงจะไม่ผิดนัก เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มีการส่งไปประกวดตามเทศกาลภาพยนตร์มาแล้วเป็น 10 เทศกาล สามารถกวาดมาได้มากกว่า 30 รางวัล มันทำให้ทาง APPLE TV ตัดสินใจซื้อภาพยนตร์เรื่องนี้ไปลงฉายใน PLATFORM STREAMING ของตัวเองเป็นเงินกว่า 25 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้กัน
เรื่องราวในภาพยนตร์เรื่อง CODA
CODA เป็นคำที่ย่อมาจากประโยคที่ว่า CHILD OF DEAF ADULTS หมายถึงบุตรที่บุพการีหูหนวก ซึ่งก็หมายถึงตัวละครเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้นั่นเองนั่นก็คือรูบี้ ลูกสาวคนเดียวที่ได้ยินเสียงแบบปกติเหมือนคนทั่วไปทั้งที่คนในครอบครัวทุกคนนั้นพิการหูหนวกทั้งบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือพี่ชายของเธอก็ตาม พวกเขานั้นล้วนแล้วแต่ไม่เคยได้ยินเสียงบนโลกใบนี้มาก่อนเลย ด้วยเหตุนี้เธอจึงเปรียบเสมือนกับหูของครอบครัวที่คอยบอกว่ามีเสียงอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ครอบครัวดังกล่าวประกอบอาชีพหาเลี้ยงตัวเองด้วยการเดินเรือหาปลา ด้วยเหตุนี้เด็กสาวจึงกลายเป็นวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับภาระของชีวิตที่หนักอึ้งมากกว่าวัยรุ่นปกติทั่วไปไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจเรียนหนังสือหรือต้องแบ่งเวลามาช่วยงานในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการออกเรือไปหาปลาหรือการนำเอาปลามาเจรจาขายให้กับนายหน้าก็ตาม ด้วยเหตุนี้เธอจึงเปรียบเสมือนกับเสาหลักของครอบครัวเพราะต้องทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับล่ามระหว่างคนธรรมดาทั่วไปและครอบครัวของเธอที่ไม่ได้ยินเสียงอะไร
แต่แล้วในวันหนึ่งเธอก็ได้ค้นพบพรสวรรค์และมันก็กลายมาเป็นสิ่งที่เธอรักนั่นก็คือการร้องเพลง เธอชอบมันเป็นอย่างมากและสามารถทำมันได้เป็นอย่างดี แต่พรสวรรค์ในครั้งนี้ที่เธอได้พบเจอกับกลายเป็นวิกฤตที่ทำให้เธอต้องเผชิญกับทางแยกครั้งใหญ่ เพราะครูในโรงเรียนต้องการจะผลักดันให้เธอได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีแต่มันก็ทำให้เธอนั้นต้องเลือกว่าจะทอดทิ้งครอบครัวเพื่อทำตามความฝัน หรือจะอยู่กับครอบครัวที่ต้องการพึ่งพาเธอ สุดท้ายเธอจะตัดสินใจอย่างไรต่อไปต้องติดตามรับชมต่อในภาพยนตร์
ความรู้สึกหลังรับชมภาพยนตร์เรื่อง CODA
CODA เป็นภาพยนตร์ที่แค่อ่านเรื่องย่อก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศดราม่าแบบหนักหน่วงเลยทีเดียว ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถสอดประสานกันได้เป็นอย่างดีระหว่างความดราม่าของเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความเข้มข้น เสียงเพลง และการถ่ายทอดงานภาพที่เปรียบเสมือนกับงานศิลปะที่เต็มไปด้วยความสวยงาม ด้วยความที่ตัวละครหลักของเรานะชื่นชอบการร้องเพลงทำให้ตลอดทั้งเรื่องราวเราจะได้ฟังเพลงเพราะจากยุค 60 แทบจะตลอดทั้งเรื่อง ไม่ต้องกังวลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะดราม่าหนักหน่วงจนเกินไปเพราะมีการผสมผสานเรื่องราวโรแมนติกของเด็กสาวกับเด็กน้อยเสียงดีคนหนึ่งที่ได้ร้องเพลงคู่กันด้วย
เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างดำเนินไปได้เป็นอย่างดี มีความน่าติดตาม ไม่ได้เรียกใช้ตลอดทั้งเรื่องหรือหวือหวาตลอดทั้งเรื่องแต่อย่างใด มีการใส่อุปสรรคเข้ามาได้อย่างกำลังพอดีไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาววัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน มันเป็นเรื่องราวที่ทำให้ผู้รับชมอย่างเรานั้นสามารถลุ้นเอาใจช่วยได้แทบจะตลอดทั้งการรับชมเลยทีเดียว
และที่จะไม่ชมไม่ได้โดยเด็ดขาดก็คือเหล่าดารานักแสดงที่มารับบทบาทในภาพยนตร์เรื่องนี้ ถึงแม้ว่าพวกเขานั้นจะไม่ใช่ดารานักแสดงชื่อดังในฮอลลีวู้ดแต่กลับสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม มีความทุ่มเทถึงขั้นที่ไปเรียนฝึกภาษามือ เรียนร้องเพลง หรือบางคนในเรื่องก็ต้องไปออกเรือหาปลาจริงเป็นระยะเวลาถึง 9 เดือน มันเลยทำให้พวกเขาสามารถนำเสนอเรื่องราวได้อย่างยอดเยี่ยมและสมจริง
ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นภาพยนตร์ที่เราอยากจะแนะนำให้ทุกคนได้รับชมเนื่องจากมันมีความครบรสในทุกองศา เต็มไปด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นเคล้ากับดราม่าได้อย่างลงตัว งานภาพสวย เพลงก็เพราะ มันแทบจะไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้
ตัวอย่างหนัง CODA
รีวิวหนัง CODA บางส่วนจาก beartai
ต้องบอกเลยว่าทีมงานออกแบบหน้าหนังได้ไม่น่าสนใจเอามาก ๆ ด้วยการเอานักแสดงนำทั้ง 4 ที่โนเนมสุด ๆ มานั่งเรียงกันท้ายกระบะรถซึ่งไม่ได้สื่ออะไรเลย น่าจะมีส่วนทำให้บางคนเมินหนังเรื่องนี้ไป และทำให้พลาดประสบการณ์อิ่มเอมที่สุดเรื่องหนึ่ง เท่าที่ศิลปะภาพยนตร์จะถ่ายทอดความรู้สึกให้เรารับได้
CODA เป็นผลงานของ เซียน ฮีเดอร์ (Sian Heder) เธอเป็นทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และมือเขียนบท ซึ่งเรื่องนี้เธอก็ควบหน้าที่กำกับและเขียนบทด้วยตัวเอง จะเรียก CODA ว่าเป็นหนังอินดี้หรือหนังสายรางวัลก็ไม่ผิดนัก เพราะหนังถูกส่งเข้าประกวดตามเทศกาลหนังมาเป็นสิบแล้ว แล้วด้วยคุณค่าของหนังก็กวาดมาได้แล้วกว่า 30 รางวัล แต่เวทีที่ส่งให้ CODA ประสบความสำเร็จสุดก็คือ ซันแดนซ์ เพราะคว้ามาได้ถึง 4 รางวัล ทำให้ Apple TV ควักกระเป๋าซื้อหนังไปด้วยมูลค่า 25 ล้านเหรียญทันที มองแล้วน่าจะเป็นตัวเลขที่คุ้มค่ามาก ๆ เพราะถึงนาทีนี้ ตัวหนังมีสิทธิ์อย่างมากที่จะได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในหลายสาขา
ชื่อเรื่อง CODA นั้นย่อมาจาก “Child of Deaf Adults” แปลได้ว่า “บุตรที่มีบุพการีหูหนวก” ซึ่งก็หมายถึงตัว รูบี้ รอสซี รับบทโดย เอมิเลีย โจนส์ (Emilia Jones) นักแสดงนำหญิงจากทีวีซีรีส์ Locke & Key รูบี้เป็นลูกสาวคนเดียวที่หูได้ยินเสียงปกติในครอบครัวที่หูหนวกทั้งบ้านที่ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และพี่ชาย ครอบครัวเธอประกอบอาชีพออกเรือหาปลา รูบี้จึงเป็นสาววัยรุ่นที่ต้องรับภาระหนักมาก ทั้งเรียนหนังสือและต้องแบ่งเวลาทำงานกับครอบครัว ตั้งแต่ออกเรือหาปลา นำปลามาเจรจาขายกับนายหน้า เธอกลายเป็นเหมือนเสาหลักของครอบครัวเพราะต้องทำหน้าที่ล่ามระหว่างครอบครัวของเธอกับคนหูดีทั่วไป ตรงนี้ละที่ปูทางให้เรารู้จักและเห็นใจกับภาระหน้าที่ของรูบี้ ก่อนจะพาเราไปเผชิญกับวิกฤตของเรื่อง เมื่อรูบี้ค้นพบพรสวรรค์และสิ่งที่เธอรัก นั่นก็คือ “การร้องเพลง” ซึ่งเธอทำได้ดีมาก จนคุณครูแบร์นาโดพยายามผลักดันให้เธอได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเบิร์คลีย์ แต่นั่นกลายเป็นว่าถ้ารูบี้เลือกเดินตามความฝันของตัวเอง ก็เท่ากับเป็นการทอดทิ้งครอบครัวที่ต้องการเธอเป็นที่พึ่ง เห็นวี่แววดราม่าหนัก ๆ แล้วใช่ไหมละ
CODA เป็นหนังดราม่า และ เพลง ซึ่งก็แบ่งน้ำหนักของทั้งสองส่วนได้ดี ตลอดเรื่องเราได้ฟังเพลงเพราะ ๆ ซึ่งเป็นเพลงจากยุค 60s หลัก ๆ ก็มี 2 เพลงคือ You’re All I Need to Get By ของ มาร์วิน เกย์ ปี 1968 และ Both Sides, Now ของ โจนี มิตเชลล์ ปี 1969 ซึ่งเป็นเพลงที่คุณครูแบร์นาโดเลือกมาเคี่ยวกรำฝึกฝนให้รูบี้ ซึ่งเราก็ได้เห็นพัฒนาการของรูบี้ในเรื่องการร้องเพลง ควบคู่ไปกับเรื่องราวกุ๊กกิ๊กของเธอกับ ไมลส์ หนุ่มเสียงดีที่คุณครูแบร์นาโดคัดมาร้องเพลงคู่กับเธอ จุดที่ทำให้หนังเดินหน้าไปอย่างน่าติดตามก็เมื่อหนังโยนอุปสรรคต่าง ๆ เข้ามาใส่รูบี้ หลัก ๆ ก็คือปัญหาระหว่างเธอกับครอบครัว ซึ่งพาลไปกระทบกับความสัมพันธ์ของเธอกับไมลส์ และทำให้คุณครูแบร์นาโดผิดหวังทั้งที่กำลังรุดหน้าไปอย่างสวยงาม จนทำให้รูบี้เริ่มทำใจและถอดใจกับเส้นทางที่เธอเลือกไว้ ดูไปก็ลุ้นไป เอาใจช่วยให้รูบี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่เธอตั้งใจ
พูดได้ว่า CODA เป็นหนังที่เพียบพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งเนื้อหาของหนัง บทพูด เพลงที่เลือกสรรมาใช้ และโดดเด่นที่สุดคือบรรดานักแสดง ตั้งแต่ตัว เอมิเลีย โจนส์ ที่ตั้งใจและทุ่มเทกับบทรูบี้อย่างมาก ถึงกับฝึกการร้องเพลง เรียนภาษามือ และออกเรือหาปลาจริง ๆ อยู่ 9 เดือน และที่น่าประทับใจสุด ๆ ต้องยกให้ครอบครัวรอสซี ทั้งพ่อแม่และพี่ชาย ที่ได้นักแสดงหูหนวกจริง ๆ มารับบท เพื่อเลี่ยงปัญหาที่เคยเกิดกับ La famille Bélier หนังฝรั่งเศสที่เป็นต้นฉบับของเรื่องนี้ เพราะในเวอร์ชันออริจินัลนั้น ทีมงานเลือกใช้นักแสดงหูดีมาเล่นเป็นคนหูหนวกถึง 2 คน ก็เลยโดนสมาคมคนหูหนวกประท้วง ว่าการกระทำเช่นนี้เท่ากับไม่สนับสนุนนักแสดงหูหนวก
พอมาถึง CODA เราก็เลยได้เห็นศักยภาพอันน่าทึ่งของ ทรอย คอตเซอร์ (Troy Kotsur) มาร์ลี แมตลิน (Marlee Matlin)และ แดเนียล ดูแรนต์ (Daniel Durant) ที่ต้องชื่นชมว่าแต่ละคนแสดงได้ดีงามไร้ที่ติ โดยเฉพาะตัวคอตเซอร์ ผู้รับบทพ่อ แฟรง รอสซี นั้น กวาดมาแล้วหลายรางวัล รอลุ้นว่าคอตเซอร์จะได้เข้าชิงออสการ์นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมด้วยหรือไม่ คอตเซอร์ให้การแสดงที่เป็นธรรมชาติเหลือเกิน เป็นบทบาทที่สร้างความกดดันให้กับเส้นเรื่องพอควรในฐานะพ่อที่ต้องการยึดเหนี่ยวลูกสาวไว้กับตัวเอง ขณะเดียวกันเขาก็ทำหน้าที่เป็นตัวชงมุก และหลายมุกก็เรียกเสียงหัวเราะได้จริง