รีวิว ซีรีส์ Juvenile Justice

รีวิว ซีรีส์ Juvenile Justice ซีรีส์เกาหลีที่จัดเต็มประเด็นความขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายของเยาวชน

การก่อเหตุอาชญากรรมไม่ได้เกิดขึ้นโดยฝีมือของผู้ใหญ่เพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้น หลายต่อหลายครั้งเด็กกลับกลายเป็นคนที่ก่อเหตุอาชญากรรมและความรุนแรงขึ้นมา มีหลากหลายคดีบนโลกใบนี้ที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิดแต่กฎหมายมาตราปกป้องเด็กอยู่เสมอทำให้ความรุนแรงในการลงโทษต่ำ อัตราการเกิดเหตุอาชญากรรมจากเด็กสูงมากขึ้น เหยื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมเพียงเพราะว่าผู้กระทำความผิดเป็นเด็ก สร้างความรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้คนที่ได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้มาโดยตลอด เหตุการณ์พวกนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทยของเราเองก็ตาม 

ซีรีส์ที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้เป็น Original Netflix ที่มาพร้อมกับการจัดเต็มประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางด้านกฎหมายเยาวชน ผ่านผู้พิพากษาเยาวชนที่มาพร้อมกับแรงแค้นที่ต้องการจะลงโทษอาชญากรเด็กโดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรงแต่กฎหมายกลับไม่สามารถเอาผิดพวกเขาได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ นั่นก็คือซีรีส์เรื่อง Juvenile Justice

นับว่าเป็นประเด็นที่หนักหน่วงและน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับซีรีส์เรื่องนี้ ตลอดการรับชมเราจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศแห่งความกดดัน ความรู้สึกเจ็บใจ และอยากเอาใจช่วยให้ตัวละครเอกของซีรีส์สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดให้สำเร็จให้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัจจุบันกระแสของซีรีส์เรื่องนี้ยังคงแตกออกเป็น 2 ฝั่งคือคนที่ชอบไปเลยและคนที่ไม่ชอบไปเลย สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะรับชมซีรีส์เรื่องนี้ดีหรือไม่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้นกัน 

รีวิวซีรีส์เกาหลี netflix

เรื่องราวในซีรีส์เรื่อง Juvenile Justice

Juvenile Justice เป็น Series กฎหมายที่จะเล่าถึงเรื่องราวของผู้พิพากษาที่มีความเกลียดชังผู้กระทำความผิดที่ยังคงเป็นเยาวชนเป็นอย่างมาก เป็นความแค้นส่วนตัวที่เธอเก็บเอาไว้ในใจและผลักดันให้ตัวเองได้กลายมาเป็นผู้พิพากษาในศาลคดีเยาวชนคนใหม่ประจำเขตยานนาวาในที่สุด ครั้งหนึ่งเธอเคยตกเป็นเหยื่อในการก่อเหตุอาชญากรรมจากเยาวชนและเด็กส่วนต้องเผชิญกับคดีมากมาย และมันก็ทำให้เธอได้ค้นพบกับความหมายของการเป็นผู้ใหญ่อย่างแท้จริง 

ผู้พิพากษาคนนั้นก็คือชิมอึนซอก เธอไต่เต้าขึ้นมากลายเป็นผู้พิพากษาระดับสูงมากความสามารถที่บุคลิกภายนอกดูไม่เป็นมิตรเลยแม้แต่น้อย แถมยังอารมณ์ร้อนและมีความเกลียดชังต่อเด็กที่กระทำความผิดอีกด้วย เธอจึงได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายขนบธรรมเนียมเดิมและมาพร้อมกับวิธีการจัดการผู้กระทำความผิดที่ยังคงเป็นเด็กด้วยวิธีการของตัวเธอเอง

ในขณะเดียวกันวอนจุนผู้พิพากษาอาวุโสที่ทำงานด้านนี้มาแล้วกว่า 18 ปีกำลังเผชิญกับความขัดแย้งภายในจิตใจระหว่างอุดมคติและความเป็นจริง และยังมีผู้พิพากษาอีกคนอย่างแทนจูนที่เป็นคนอบอุ่นและน่าไว้วางใจ เขาได้อาสาเข้าร่วมทำภารกิจสุดอันตรายโดยที่ตัวเองนั้นรู้สึกท้อแท้กับการทำงานในกระทรวงเป็นอย่างมาก และเขายังต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องราวอันตรายที่กำลังรออยู่อีกด้วย 

ความรู้สึกหลังรับชมซีรีส์เรื่อง Juvenile Justice

Juvenile Justice เป็นซีรีส์ 10 ตอนจบที่สามารถรับชมรวดเดียวได้ไม่ยากเย็น แม้ว่าจะมาพร้อมกับเรื่องราวที่แสนจะหนักหน่วงแต่ช่วงสุดท้ายประเด็นจะผ่อนลงจนสามารถรับชมได้แบบสบายๆ สำหรับบางคนแล้วอาจทำให้รู้สึกจืดชืดจนน่าเบื่อไปเลยก็ได้เช่นเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจคือการใส่ประเด็นที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและโหดเหี้ยมของเหล่าอาชญากรเยาวชนในยุคปัจจุบันที่มีพฤติกรรมทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่กฎหมายกับปกป้องเด็กเหล่านี้เอาไว้เพียงเพราะว่าพวกเขามีอายุน้อย ไม่ว่าจะก่อเหตุฆาตกรรมหรืออาชญากรรมที่โหดร้ายแค่ไหนก็ตามสุดท้ายแล้วโทษที่พวกเขาได้รับไม่เคยสาสมกับสิ่งที่พวกเขาทำเลยแม้แต่น้อย อย่างในเกาหลีหาอายุยังไม่ถึง 14 ปีจะไม่สามารถใช้กฎหมายเยาวชนลงโทษได้ สามารถทำได้สูงสุดเพียงแค่ส่งไปยังสถานพินิจ 2 ปีเท่านั้น 

แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือมีการนำเสนอคดีเกี่ยวกับเด็กเพียงแค่ 2 ตอนแรกเท่านั้น จากนั้นประเด็นเรื่องการทำคดีและการสู้กันในศาลอย่างที่ควรจะเป็นก็ไม่ได้มีการปรากฏออกมาให้เราได้เห็นแต่อย่างใด ตัวละครผู้พิพากษาหลายคนมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างเห็นได้ชัด มีความขัดแย้งเกี่ยวกับตรรกะและวิธีคิดในการทำงานอย่างน่าหงุดหงิด ไม่ได้ขยี้ปมการแก้ไขกฎหมายอาชญากรเด็กอย่างที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะสุดท้ายแล้วเท่ากับว่าทุกการกระทำของตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัญหาที่นำเสนอได้เลย 

โดยรวมแล้วซีรีส์เรื่องนี้ถือว่าเป็นซีรีส์ที่มีทั้งจุดดีและสิ่งที่น่าเสียดายหลายจุดเลยทีเดียว หากคุณคาดหวังว่าจะได้รับชมการต่อสู้คดีที่เต็มไปด้วยความดุเดือดอาจจะต้องผิดหวัง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลมากมาย แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการจุดประเด็นเกี่ยวกับอาชญากรเด็กขึ้นมาให้เป็นที่สนใจมากขึ้น พูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในสารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นักแสดงเด็กยังสามารถแสดงออกมาได้อย่างสมจริงอีกด้วย มันจึงเป็นซีรีส์ที่ไม่ยาวจนเกินไป สามารถรับชมได้เรื่อยๆ มีความลุ้นและน่าติดตามอยู่บ้าน ยังคงสามารถสร้างความสนุกสนานให้กับผู้รับชมได้อยู่ 

ตัวอย่างซีรีส์ Juvenile Justice

รีวิวซีรีส์ Juvenile Justice บางส่วนจาก beartai

ณ ตอนนี้ ซีรีส์จากเกาหลีใต้อย่าง ‘Juvenile Justice’ หรือ ‘หญิงเหล็กศาลเยาวชน’ ซีรีส์ Netflix Original เรื่องใหม่ที่เพิ่งเข้าฉายเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลายเป็นซีรีส์กระแสแรงที่กำลังติดอันดับหนึ่งอยู่ในตอนนี้ครับ และกระแสก็กำลังมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ ‘ฮงจงชัน’ (Hong Jong-Chan) ที่เคยมีผลงานกำกับซีรีส์มาหลายต่อหลายเรื่อง คราวนี้ เขาขอหยิบมุมมองเกี่ยวกับกฏหมาย โดยเฉพาะแง่มุมที่แทบไม่มีใครเคยหยิบจับมาก่อนอย่าง ‘กระบวนการยุติธรรมคดีเยาวชน’ มาเล่าผ่านซีรีส์เรื่องนี้ ผ่านมุมมองการเขียนบทของ ‘คิมมินซอก’ (Kim Min-Seok)

ตัวซีรีส์โดยรวมเล่าด้วยพล็อตแบบ ‘Courtroom Drama’ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความในชั้นศาลนั่นแหละนะครับ แต่ที่พิเศษและแตกต่างออกไปนั่นก็คือ เป็นซีรีส์ที่เจาะจงเล่าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีเยาวชนโดยเฉพาะ เพราะตามหลักกฏหมายแล้ว เยาวชนที่อายุไม่เกิน 14 ปี จะต้องถูกตัดสินคดีตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชน ซึ่งจะมีโทษสูงสุดคือ คุมประพฤติระดับ 10 จนกระทั่ง ‘ชิมอึนซอก’ (Kim Hye-soo) ผู้พิพากษาสาวผู้เย็นชาเพราะแอบซ่อนอดีตขมขื่นไว้เบื้องหลัง ได้ย้ายเข้ามาทำงานเป็นผู้พิพากษาคนใหม่ของ ‘ศาลแขวงแผนกคดีอาญาเด็กและเยาวชนเขตยอนฮวา’

เธอจึงถือโอกาสนี้ ล้างบางวิธีการพิจารณาคดีเยาวชน ที่ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยซับซ้อน และมักจะตัดสินคดีกันอย่างรวดเร็ว และไม่ได้ตัดสินดำเนินคดีหนักเท่ากับคดีผู้ใหญ่ ด้ายมอตโตประจำตัวเธอก็คือ “ฉันเกลียดอาชญากรเด็ก” เธอจึงยืนกรานที่จะตัดสินคดีเยาวชนแบบล้วงลูกตามวิธีการของเธอเองด้วยมุมมองที่ว่า เธอต้องการที่จะตัดสินคดีให้เยาวชนผู้กระทำผิดได้รับโทษอย่างสาสม สำนึกในความผิด และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เกรงกลัวกฏหมาย พร้อมกับการปกป้องเหยื่อ (และญาติ) ผู้เคราะห์ร้าย ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด

แม้ว่าในอีกมุมหนึ่ง มันก็ดูจะขัดกับอุดมการณ์ของศาลเยาวชนแห่งนี้ ที่มอง (จากมุมของกฏหมาย) ว่า แม้จะกระทำผิดร้ายแรงแค่ไหน แต่เยาวชนที่กระทำผิดก็ต้องได้รับการฟื้นฟู กล่อมเกลา ให้โอกาสที่สองแก่ผู้กระทำผิด เพื่อไม่ให้กลับมากระทำผิดซ้ำ และกฏหมายก็ไม่มีสิทธิ์ตัดสินคดีเยาวชนด้วยบรรทัดฐานแบบคดีผู้ใหญ่ ที่เน้นการลงโทษให้เข็ดหลาบและเกรงกลัวกฏหมาย ซึ่งไอ้ช่องโหว่ตรงนี้แหละ ที่กลายเป็นว่า ทำให้อาชญากรเด็กบางคนก็ดีใจเสียด้วยซ้ำ เพราะสุดท้ายก็มักจะลงโทษสถานเบา และไม่ต้องติดคุก

ซึ่งก็ทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมพลอยแอบใส่เกียร์ว่าง ไม่ยอมตัดสินคดีด้วยการพิจารณาคดีจากหลักฐาน แต่ใช้วิธีตัดสินคดีตามเนื้อผ้า ใช้กฏหมายตัดสินคดีให้พอผ่าน ๆ ไป เพราะกลัวคดีจะล้นมือ ยุ่งยาก และเจอตอโดยใช่เหตุ ผู้พิพากษาชิมอึนซอก ก็เลยต้องออกล้วงลูกคดีด้วยตัวของเธอเอง ซึ่งตลอดทั้ง 10 ตอนก็จะมีการแบ่งเป็นคดีต่าง ๆ ออกเป็นคดีละประมาณ 1-2 ตอนโดยเฉลี่ย และเนื้อหาในแต่ละคดีก็จะมีความคาบเกี่ยวเนื้อหาต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นชิมอึนซอก ทำหน้าที่ผู้พิพากษาด้วยการใช้หลักฐาน และตัดสินด้วยกฏหมายแบบแรง ๆ สั่งสอนอาชญากรเด็กเหล่านั้นให้เข็ดหลาบ

นักแสดงซีรีส์ Juvenile Justice

Kim Hye-su

Mu-Yeol Kim

Yangdu-Duyang.com จะพาทุกท่านไปพบกับ การรีวิว แนะนำหนัง ภาพยนตร์ ทั้งในและต่างประเทศ ที่น่าดู น่าติดตาม สูตรบาคาร่า sa บอกได้เลยว่าทุกท่านต้องห้ามพลาด แหล่งรวมสล็อตpg

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า